อนุสาวรีย์วีรไทย หรือที่ชาวเมืองนครฯ เรียกกันว่า พ่อจ่าดำ หรือ เจ้าพ่อดำ ตั้งอยู่ภายในใจกลางของค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ 4 นครศรีธรรมราช ห่างจากตัวเมืองนครศรีธรรมราช ไปตามถนนสายนครศรีธรรมราช-ท่าแพ
ทางทิศเหนือประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นหนึ่งในผลงานชิ้นเอกของ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ใน สงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เพื่อเป็นการรำลึกถึงวีรกรรมของเหล่าบรรดาทหารหาญที่พลีชีพ ต่อสู้ข้าศึก เพื่อปกป้องมาตุภูมิ เหตุการณ์การสู้รบในวันนั้น กองทัพไทยต้องสูญเสียกำลังทหาร และยุวชนทหาร ช่วยรบในจังหวัดปัตตานี สงขลา สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และนครศรีธรรมราช รวมกว่า 100 นาย ดังปรากฏนามจารึกไว้ที่ฐานอนุสาวรีย์ ทั้ง 6 ด้านอนุสาวรีย์จ่าดำ หรือ อนุสาวรีย์วีรไทย ยังคงยืนตระหง่านบนจุด ที่ได้สู้รบปกป้องปฐพีไทยสืบมา
เรื่องราวการต่อสู้ดังกล่าวนั้น มีดังนี้ คือ ใน พ.ศ. 2482 ได้เกิดวิกฤตการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ในทวีปยุโรป โดยมีเยอรมนี และอิตาลีซึ่งเรียกว่าฝ่ายอักษะฝ่ายหนึ่ง กับสัมพันธมิตรซึ่งประกอบด้วยสหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสอีกฝ่ายหนึ่ง การสงครามได้ขยายตัวกว้างขวาง ครั้นถึง พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ สงครามได้ลุกลามเข้าสู่ทวีปเอเชีย โดยญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกพร้อมกันในประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มลายู และไทย เมื่อเช้าตรู่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับที่โจมตี ฐานทัพเรือเพิร์ลฮาเบอร์ ของ สหรัฐอเมริกา ในประเทศไทย ญี่ปุ่น ยกพลขึ้นบกพร้อมกันที่ สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี นครศรีธรรมราช และ ปราจีนบุรี โดยที่ฝ่ายไทยไม่คาดคิด
จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นที่ตั้งกองกำลังสำคัญของภาคใต้ คือมณฑลทหารบกที่ 6 ในเวลานั้น มี พลตรีหลวงเสนาณรงค์ เป็นผู้บัญชาการมณฑล เช้าวันเกิดเหตุ ได้รับแจ้งข่าวจากนายไปรษณีย์ นครศรีธรรมราชว่า ญี่ปุ่นได้ส่งเรือรบ ประมาณ 15 ลำ มาลอยลำในอ่าวสงขลา และได้ยกพลขึ้นบกที่เมืองสงขลา พลตรีหลวงเสนาณรงค์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 6 จึงสั่งการรับศึก และสั่งให้เตรียมกำลังเคลื่อนย้ายไปสนับสนุนกองทัพสงขลา โดยด่วน ขณะเตรียมการอยู่นั้น ก็ได้รับแจ้งจากพลทหารว่า ญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่บ้านท่าแพ ตำบลปากพูน ผู้บัญชาการมณฑลจึงสั่งการให้ทุกคน ทำการต่อสู่เต็มกำลัง โดยความมุ่งหมายที่จะมิให้กองทหารญี่ปุ่น เข้ายึดโรงทหารได้เป็นอันขาด การสู้รบระหว่างทหารไทย ยุวชนทหาร กับทหารญี่ปุ่นเป็นไปในลักษณะประจัญหน้า พื้นที่บริเวณสู้รบอยู่ในแนวเขตทหารด้านเหนือ กับบริเวณตลาดท่าแพ มี ถนนราชดำเนิน ผ่านพื้นที่ในแนว เหนือ-ใต้ การรบทำได้ไม่สะดวกนัก เพราะ ตลอดเวลาตั้งแต่ 07.00-10.00 น. ฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก การเตรียมรับมือข้าศึก ภายหลังที่ได้รับโทรเลขฉบับนั้น ผู้บังคับบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 6 จึงสั่งการให้แตรเดี่ยว ณ กองทัพรักษาการณ์ประจำกองบัญชาการ เป็นสัญญาณเหตุสำคัญ และเรียกหัวหน้าหน่วยที่ขึ้นครงมาประชุมที่กองบัณชาการมณฑลเพื่อเตรียมรับ มือข้าศึกซึ่ง ผบ.มณฑล คาดว่าคงจะบุกขึ้นนครศรีธรรมราชด้วย ในขณะที่ฝนตกลงมาอย่างหนัก ขณะที่ ผบ.มณ ได้สั่งการและมอบหมายหน้าที่รับข้าศึกอย่างรีบเร่งอยู่นั้น ก็ได้รับแจ้งข่าวจาก พลฯ จ้อน ใจชื่อ และ พลฯ เติม ลูกเสือ สังกัดหน่วยป.พัน 15 ซึ่งเป็นเวรตรวจเหตุการณ์ที่บ้านท่าแพ (ใกล้ค่ายวชิราวุธ) ว่าได้พบกองทหารญี่ปุ่นกำลังยกขึ้นจากเรือรบไม่ทราบจำนวนพลทหาร และลำเลียงกำลังด้วย เรือท้องแบนมาตามคลองท่าแพ จะขึ้นที่ท่าแพ ในขณะที่จะพยายามจะกลับมารายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบก็ถูกทหารญี่ปุ่นควบ คุมตัว แต่ พลฯ จ้อน ใจซื่อ พยายามหลบหนี มารายงานผู้บังคับบัญชาได้ในเวลา07.00 น. และในเวลาเดียวกัน ส.ท.ประศาสน์ ลิทธิ์วิลัย ก็วิ่งกระหืดกระหอบมาแจ้งขาวนี้แก่ผู้บังคับการมณฑลด้วย ผบ.มณฑล ได้สั่งการให้เปิดคลังแสงและจ่ายอาวุธปืนเล็ก ปืนกล และปืนประสุนให้แก่ทุกคนที่ยังไม่มีอาวุธประจำกาย และประกาศให้ทุกคนทำการสู้อย่างเต็มสติกำลัง โดยความมุ่งหมายที่จะมิให้กองทหารญี่ปุ่นเข้ายึดโรงทหารได้เป็นอันขาด ผู้ที่ไม่มีผู้บังตับบัญชาแน่นอน ก็ให้เข้าสมทบกับหน่วยใดหน่วยหนึ่งซึ่งประจำอยู่ตามแนวต่างๆ ในหน่วยร.17 พอคำสั่งด้วยวาจาไม่ว่าจะเป็นคำสั่งประกาศขาดคำลง ผู้รับคำสั่งทุกคนทุกหมู่ทุกเหล่าได้รีบลงมือปฏิบัติตามโดยทันที โดยมิได้มีการสะทกสะท้านหวาดกลัว หรือแสดงอาการตื่นเต้นลังเลแม้แต่น้อย
ทหารทุกหน่วยในมณฑลที่6 ได้เข้าประจำการในลักษณะและหน้าที่ ดังนี้
- 1.หน่วย ป.พัน 15 หน่วยนี้ได้ทำหน้าที่ดังนี้
– เติมน้ำมันแก่รถยนต์ทุกคันและสำรองไว้อีกคันละ 2 ปีบ ที่เหลือให้กองพลาธิการนำไปซุกซ่อนตามภูมิประเทศหลังโรงที่อยู่ของหมวด สภ. – พลาธิการเตรีบมสัมภาระพร้อม เสบียงอาหาร เพื่อขนย้ายได้ทันท่วงที -ส่งทหารเข้ายึดแนวรั้วไร่กสิกรรม ของ ป.พัน 15 ร้อย 2 ด้านใต้ เพื่อยิงต้านทานและเมื่อมีกำลังมาเสริมก็ได้ต่อแนวไปทางทิศตะวันตก สักครู่ปรากฏว่ามีกระสุนของฝ่ายญี่ปุ่นยิงมาจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโรง อาหาร ผบ.ร้อย 1 จึงนำปืนใหญ่ 2 กระบอกไปตั้งยิงสวนไป – กองร้อย 1 ใช้ปืน ปบค.105 จำนวน 4 กระบอก ปืน ป.63 จำนวน 2 กระบอก จากโรงเก็บออกมาตั้งยิงบริเวณหน้าและข้างโรงเก็บ ส่วนทหารในกองรักษาการณ์ภายในใช้ปืนเล็กทำการต่อสู้ – กองร้อย 2 ลากปืนใหญ่ ป.105 จำนวน 1 กระบอก ซึ่งไปนำคืนมาจากร้านงานฉลองรัฐธรรมนูญ ณ สนามหน้าเมือง ในตอนเช้าตรู่มาตั้งยิงใกล้คลังกระสุน แต่เนื่องจากกองร้อยนี้ต้องไปรักษาการณ์ภายนอก จึงมีทหารอยู่น้อยไม่พอที่จะทำหน้าที่พลประจำปืน ประกอบกับที่อยู่ของกองร้วยนี้อยู่ใกล้ไปทางท่าแพมาก พอฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มเคลื่อนที่และยิงมา ก็ทำให้หมดความสามารถที่ทหารจะเข้าไปลากเอาปืนใหญ่มาตั้งยิงเสียแล้ว จึงต้องใช้ปืนเล็กยิงต่อสู้
- 2.หน่วย ร.พัน39 หน่วยนี้ได้ทำหน้าที่ดังนี้
– ร้อย 1 และหมวด ส. เป็นกองรบซึ่งยกไปต้านทานทหารญี่ปุ่นที่ตลาดท่าแพ โดยวางแนวรบเป็น 2 แนว แนวแรกคือ แนวบ้านพักนายทหาร ป.พัน 15 กับโรงที่อยู่ของทหาร ป.พัน15 ส่วนแนวที่ 2 คือ แนวตลาดท่าแพ – รอง ผบ.ร.พัน 39 นำกำลังบางส่วนคือ ทหารของ ร.17 ที่ฝากฝึกในหมวด สภ. นายสิบกองหนุนที่เข้ารับการอบรมกับ ปก.หนัก 1 หมวด ที่เหลือไปยึดภูมิประเทศทางทิศตะวันออกของที่ตั้ง ร.พัน 39 เพื่อป้องกันมิให้ฝ่ายญี่ปุ่นเข้ายึดโรงทหารจากทิศตะวันออกได้ – เข้าเสริมแนวรบโดยต่อแนวไปทางปีกขวาบ้าง ปีกซ้ายบ้าง ยึดภูมิประเทศข้างหลัง แนวรบเพื่อทำหน้าที่เป็นกองหนุนบ้าง และเมื่อฝ่ายญี่ปุ่นได้กำลังส่วนหนึ่งเข้าโอบทางปีกขวา หน่วยนี้ก็ได้ส่งกำลังเข้าปะทะต้านทานไว้
- 3.หน่วย พ.มณฑล 6 หน่วยนี้ได้ทำหน้าที่ดังนี้
เป็นผู้รับมอบหมายนำทหารขึ้นรถยนต์มายังหน้าที่ตั้งกองรักษาการณ์ของ ป.พัน 15 แล้วขยายแถวเข้ายึดแนวไร่กสิกรรมของ ป.พัน 15 ร้อย 2 โดยสมทบกับทหาร ป.พัน 15 และกองรักษาการณ์ภายนอกประจำ จว.ทบ.นศ. บ้าง และเข้าต่อแนวไปทางปีกขวาบ้าง ทหารหน่วยนี้แบ่งกำลังออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เข้าประจำแนวยิงแรก อีกส่วนหนึ่งคงมียึดภูมิประเทศในแนวที่ 2 ซึ่งห่างจากแนวแรกประมาณ 100 เมตร แต่ยังมิได้ทำการยิง ก็ได้เวลาสงบศึกเสียก่อน
- 4 หน่วย ส.พัน 6 ได้ทำหน้าที่ดังนี้
จัดทหารถือปืนเล็กยึดภูมิประเทศบริเวณโรงที่อยู่ของทหาร ใน พ.มณฑล และโรงที่อยู่ของทหารใน ส.พัน 6 เพื่อไว้เป็นกำลังหนุนในโอกาสต่อไป แต่ยังมิได้ทำการยิง ก็พอดีการรบยุติลง
- 5 หน่วย สร.มณฑล 6 ได้ทำหน้าที่ดังนี้
จัดเปลออกไปรับคนเจ็บ ขนเวชภัณฑ์และสัมภาระมีค่า ออกมาจากแนวยิง นอกจากนี้ยังมียุวชนทหารจากหน่วยฝึกยุวชนที่ 55 จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวนประมาณ 30 คน มีปืนเล็กประจำกายมาสมทบ เมื่อเวลาประมาณ 09.00 น. และได้รับคำสั่งให้ยึดภูมิประเทศในแนวเดียวกับหน่วย ส.พัน 6 แต่ยังมิได้ทำการยิงก็พอดีการรบยุติลง เวลาประมาณ 11.00 น. เศษ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 6 ได้รับสำเนาโทรเลขคำสั่งให้ยุติการรบ การต่อสู้ระหว่างทหารไทยกับทหารญี่ปุ่นจึงสงบลง ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 6 สั่งให้นำกำลัง ยุวชนทหารกลับ และติดต่อให้ญี่ปุ่นส่งผู้แทนมาเจรจา เพื่อตกลงกันในรายละเอียด ผลการเจรจายุติการรบ โดยสรุป มีดังนี้
- 1. ญี่ปุ่นขอให้ถอนทหารไทยจากที่ตั้งปกติไปให้พ้นแนวคลองสะพานราเมศวร์ ให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 3 ชั่วโมง เพราะญี่ปุ่นต้องการใช้สนามบินโดยด่วน
- 2.ในบริเวณตัวเมืองนครศรีธรรมราช โดยอาศัยตาม โรงเรียน วัด และบ้านพักข้าราชการเป็นต้น
- 3. ฝ่ายไทยขอขนอาวุธและสัมภาระติดตัวไปด้วย ยกเว้นอาวุธหนัก กระสุน และวัตถุระเบิด และน้ำมันเชื้อเพลิงบางส่วน ตลอดจนเครื่องบิน แต่ฝ่ายญี่ปุ่นไม่ยินยอม
- 4. ฝ่ายญี่ปุ่นแสดงความเสียใจที่ได้มีการสู้รบกัน มีความรู้สึกเห็นใจ และยกย่องชมเชยวีรกรรมของทหารไทย
ฝ่ายไทยสูยเสียชีวิต 38 คน เป็นนายทหารสัญญาบัตร 3 คน นายทหาร 3 คน พลทหาร 32 คน ฝ่ายญี่ปุ่นไม่ทราบจำนวน ภายหลังเสร็จสิ้นสงครามมหาเชียบูรพา ประชาชนและข้าราชการได้ร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ วีรไทย(พ่อจ่าดำ) เป็นรูปทหารถือดาบปลายปืนในท่าออกศึก ซึ่งออกแบบปั้นโดยนายสนั่น ศิลากรณ์ ข้าราชการกรมศิลปากรในสมัยนั้น และได้ประดิษฐานในค่าย วชิราวุธเมื่อ พ.ศ. 2492
ลักษณะ
อนุสาวรีย์ “พ่อจ่าดำ” หล่อด้วยทองแดงรมดำ เป็นรูปทหารยืนจับปืนติดดาบ เตรียมแทง ขนาดเท่าครึ่งของคนจริง หันหน้าไปทางทิศเหนือ
ที่ตั้งอาณาเขต
ทิศเหนือ ถนนราชดำเนิน
ทิศใต้ ถนนราชดำเนิน
ทิศตะวันออก โรงเรียนโยธินบำรุง
ทิศตะวันตก ศูนย์ฝึก ปจว.ค่ายวชิราวุธ
พิธีกรรมสดุดี
ใน วันกองทัพไทย วันที่ 18 มกราคม ของทุกปี ทางกองทัพภาคที่4 จะพิธีวางพวงหน้าอนุสาวรีย์ เพื่อแสดงความเคารพและไว้อาลัย ต่อวีรบุรุษผู้เสียสละต่อสู้ในสงคราม
การบูชา
ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช มีความศรัทธาต่อพ่อจ่าดำมาก กล่าวคือ หากว่าต้องการบนบานสิ่งใด ชาวนครศรีธรรมราชไม่ว่าจากอำเภอใกล้ ไกล มักมาบนบานด้วยของต่างๆ บ่อยๆ จะเห็นได้ว่า ทุกๆวันอังคารและวันเสาร์ จะมีคนมาทำพิธีแก้บนอยู่เสมอ หรือวันปกติ ก็จะมีประชาชนมาสักการะ กราบไหว้ ขอพร เพื่อเป็นศิริมงคล อยู่มิได้ขาดโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ถ้าเป็น ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร ก็จะยิ่งมีความ ศรัทธา ต่อ “พ่อจ่าดำ” สูงมาก ต่างเชื่อกันว่า จะให้คุณ ต่อหน้าที่ การงาน ความเจริญ รุ่งเรือง และแคล้วคลาด ปลอดภัย จากการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ที่มีอันตราย เสี่ยงต่อชีวิต จะเห็นได้ว่า มีผู้ที่มีศรัทธาต่อ “พ่อจ่าดำ” ได้จัดสร้าง เป็นวัตถุมงคล ออกมามากมาย หลายรุ่น หลายแบบ และแต่ล่ะรุ่น ต่างก็มีประสบการณ์ที่ดี ต่อผู้ที่ศรัทธา พกพานำท่านติดตัว ให้แคล้วคลาด ปลอดภัย จากอุบัติเหตุ และการต่อสู้ ดังที่ได้ยินได้ฟังจากข่าวสาร อยู่บ่อยๆ
ปี พ.ศ. 2547 ทาง สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สถานการณ์ รุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ที่ปฏิบัติหน้าที่ อยู่ที่นั้น ได้สูญเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ พิการ เป็นจำนวนมาก จากการ สู้รบและถูกลอบทำร้าย จากฝ่ายตรงกันข้ามที่ไม่หวังดี ต่อชาติบ้านเมืองของเรา ทางฝ่ายแนวหลังได้ตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงได้ร่วมกันจัดสร้าง วัตถุมงคล “พ่อจ่าดำ” ขึ้นมาอีกครั้ง เรียกว่ารุ่น “พ่อจ่าดำ คุ้มภัย ดับไฟใต้” เพื่อมอบให้ ผู้ที่ปฏิบัติภารกิจ อยู่ที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ไว้บูชาเป็นขวัญและกำลังใจ ในการปฏิบัติหน้าที่รักษาความมั่นคงของชาติ และเพื่อให้ประชาชนทั่วไป ที่มีความนับถือศรัทธา ต่อ “พ่อจ่าดำ” ได้เช่าไว้บูชาด้วย