ศิลปินปานบอด ชีช้าง เป็นบุตรคนที่ 7 ในจำนวน 9 คน ของนายคง นางคล้าย ชีช้างอาชีพทำนา อยู่บ้านดอน หมู่ที่ 5 ตำบลเขาพังไกร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช
เกิดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม2433 ตาบอดมาแต่กำเนิด นายคง บิดาถิ่นเดิมเป็นชาวนา บ้านสามบ่อ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ส่วนนางคล้ายมารดา ถิ่นเดิมเป็นชาวบ้านดอน ตำบลเขาพังไกร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ปานบอด สนใจเรื่องกาพย์กลอน ทั้งที่เป็นกลอนหนังตะลุง กลอนเพลงบอกมาตั้งแต่วัยเด็ก สามารถว่ากลอนด้น (กลอนสดหรือกลอนปฎิภาณ) ได้เป็นเรื่องเป็นราวอย่างคล่องแคล่ว และมีความคมคาย มาตั้งแต่อายุได้ 9 ขวบ
การศึกษา
ปานบอดจะพิการทางตาทำให้ไม่สามารถได้เรียนหนังสือเหมือนอย่างเด็กทั่วไป แต่ปานบอดเป็นคนสนใจการศึกษามาตั้งแต่เด็ก ๆ เป็นคนรัก หนังสือ ทั้งทีหนังสือนิทาน ธรรมะ บทกลอนต่าง ๆ คนที่ทำหน้าที่อ่านหนังสือให้นายปานฟัง เป็นประจำได้แก่ นายปลอด ชีช้าง นายคล้าย นายเพ็ง นายแดง หนูเกื้อ นายปานมีพรสวรรค์ที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด อย่างหนึ่ง คือ มีความจำเป็นเลิศ และมีสติปัญญา ไหวพริบดี มีคนเขาเล่าให้ฟังว่า มีคนสองคนชวนกันเล่านิทานให้ฟัง 2 เรื่อง ในเวลาเดียวกัน คือเรื่องพระอภัยมณี กับเรื่องรามเกียรติ์ เมื่อเขาเล่าจบ นายปานสามารถเล่าเรื่องดังกล่าว ให้คนอื่นฟังได้ถูกต้อง นี้เป็นตัวอย่างของความจำดี
เรื่องความสนใจ การศึกษาหาความรู้ เลื่อมใส ในธรรมะและความสามารถในการจดจำเป็นเยี่ยมของปานบอดนี้ พร้อม บุญสุข กล่าวไว้ว่า
นายปานบอดมีความเลื่อมใสในธรรมะเป็นอย่างยิ่ง เมื่อทราบข่าวพระที่มีความรู้ไปแสดงธรรมเทศนาที่วัดใด นายปานบอดจะให้คนจูงไปฟังเสมอ โดยเฉพาะเมื่อไปนั่งฟัง นายปานบอด จะเลือกที่นั่งฟังชั้นหนึ่งเสมอ คือ ใต้ธรรมาสน์ นั่นเอง เสียงดัง ฟังชัด เมื่อพระเทศจบปานจะจดจำไว้ได้หมดทีเดียว กล่าวกันว่าเรื่องความจำแล้ว นายปานนับว่าเป็นผู้มีประสาทความจำยอดเยี่ยม อันนี้เห็นจะจริงเพราะตามหลักวิชาการก็ยอมรับกันว่า เมื่ออวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายบกพร่องไ อวัยวะส่วนอื่นก็จะปรับปรุงตัวมันเองให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม นอกจากนั้นประสาทสัมผัสทางหูก็ยอดเยี่ยมจนคนตาดี ๆ ก็ยกนิ้วให้ กล่าวคือ ปานสามารถฟังคนอ่านหนังสือสองเล่มในเวลาเดียวกันรู้เรื่อง ซึ่งนับว่าแปลกมากทีเดียว
ในบรรดานักเล่นเพลงบอกที่มีชื่อเสียงของเมืองนครศรีธรรมราชในอดีตมาจนถึง ปัจจุบันนี้ ปานบอด เป็นนักเล่นเพลงบอกที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงมากที่สุดในคนหนึ่งว่าไทยเท่า นั้น ยังได้ออกโรงไปถึงรัฐไทรบุรี
ในรอบสิบปีที่ผ่านมา เพลงบอกสร้อยได้ไปว่าเพลงบอกบ่อยครั้ง โดยมูลนิธิกลุ่มบุคคลผู้สนใจทั่วไปผู้เชื้อเชิญไปให้ว่าเพลงบอกเนื่องใน โอกาสต่างๆ ทั้งนี้เพื่อความสนุสนาน เพลิดเพลิน ในงานเทศกาลต่างๆ งานบุญงานกุศล และงานประเพณีทั่วไป รวมถึงสาธารณประโยชน์อื่นๆ เมื่อนับการออกโรงว่าเพลงบอกสร้อย ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นจำนวนหมื่นๆ ครั้ง
ในส่วนของการว่าเพลงบอกในเขตภาคใต้นั้น เพลงบอกสร้อยนับว่าเป็นที่รู้จักและชื่นชอบของคนทั่วไป ถ้ามีการประชันเพลงบอกขึ้นเมื่อใด รางวัลชนะเลิศก็จะต้องเป็นเจ้าของเพลงบอกในภาคใต้ น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักเพลงบอกสร้อยเสียงเสนาะ ผู้ที่มีผลงานอันน่าชื่นชมและประทับใจตลอดมา เช่น
ว่าเพลงบอกในงานประเพณี เทศกาล งานกุศล งานสาธารณะประโยชน์ หรือทั้งในเขตภาคใต้ของประเทศไทย รวมถึงจังหวัดอื่นๆ ในประเทศ และต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย
ว่าเพลงบอกเพื่อพัฒนาการศึกษาโดยใช้เพลงบอกเป็นสื่อในรายการ “ขับร้องเพลงบอกทอกหัวใด” (หนังสืออ่านสำหรับชาวบ้าน เล่มที่ ๑ ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนประจำภาคใต้ปี พ.ศ. ๒๕๒๕) ปัจจุบันได้ว่าเพลงบอกโดยการบันทึกเสียง เพื่อช่วยโฆษณางานและประชาสัมพันธ์โครงการต่างๆ ของทั้งภาครัฐและเอกชน
ผลงานดีเด่น
ว่าเพลงบอกเพื่อเป็นสื่อพัฒนาการศึกษา ในรายการ “ขับเพลงบอกทอกหัวใด (หนังสืออ่านสำหรับชาวบ้าน เล่มที่ ๑ ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ประจำภาคใต้ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕) เป็นศิลปินรับเชิญจากต่างประเทศเพื่อไปว่าเพลงบอก ได้ฝึกสอนศิษย์ให้เป็นศิลปินว่าเพลงบอก ๑๐ คณะ
เนื้อหาในเพลงบอกเน้นการอนุรักษ์ และพัฒนารูปแบบธรรมเนียมนิยมความคิดของความเป็นไทย เพลงบอกสร้อยเสียงเสนาะเป็นศิลปินอาชีพ ว่าเพลงบอกมาตั้งแต่อายุ ๑๗ ปี สืบมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากึ่งศตวรรษเศษที่ศิลปินผู้สร้างผลงานอย่างสม่ำเสมอด้วยจิตและวิญญาณ แห่ง